top of page

  การดูแลสุขภาพตนเองของคนพิการทางจิต เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ทุกคนต้องดูแลสุขภาพของตนเองในทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้ที่จะเข้าสูงผู้สูงอายุ และคนพิการ เพราะร่างกายมีแต่เสื่อมลง ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประกาศว่า สุขภาพดีนั้น มิใช่เพียงการไม่มีโรคเท่านั้น แต่ต้องครอบคลุมการดูแลสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1)ร่างกาย  2) จิตใจ  3)สังคมสิ่งแวดล้อม  และ4)จิตวิญญาณ

      ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะ[1] ได้แก่

1)      การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่

·       การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ สุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งคนพิการทางจิตต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะการรับประทานยาทางจิตเวช จะมีข้อควรระวังเกี่ยวกับสุขภาพที่จะต้องปฏิบัติเช่น ยาที่รับประทานแล้วง่วง ซึม ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์

·       การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรคทั้งโรคตามฤดูกาล หรือโรคเรื้อรังที่อาจจะเกิดขึ้นตามวัย

2)      การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข แพทย์เฉพาะทาง ที่จำเป็นกับสภาพความพิการ เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม

bottom of page